ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

5 เรื่องขัดใจในกรุงเทพ



ตั้งแต่ที่เรามาอยู่กรุงเทพมานานแสนนาน ตั้งแต่เกิด และก็จนถึงวัยทำงาน เรามองว่า กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เรามองว่าดีมาก ๆ เลยทีเดียว เพราะถ้าเกิดอยากหิวอะไรขึ้นมา ก็มีร้านอาหารให้เราได้กิน หรือไม่ก็แวะมาที่ 7-11 จะไปที่ไหนของกรุงเทพ ก็พึ่งรถเมล์โดยสาร หรือไม่ก็รถไฟฟ้า ซึ่งตอนนี้รถไฟฟ้ากำลังขยายเส้นทางต่าง ๆ ให้ทั่วถึงกรุงเทพ และเมื่อรถไฟฟ้ามา พวกคอนโดอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ก็ผุดขึ้นอย่างกะดอกเห็ด เพื่อให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศต่างมาร่วมลงทุนทำกำไรกับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กันมากขึ้น

และเมื่อการลงทุนของต่างประเทศมาที่เมืองไทยมากขึ้น ทำให้กรุงเทพมีคนเข้ามาทั้งเที่ยวและมาลงทุนมากมาย หลาย ๆ ชาติกล่าวว่า กรุงเทพเป็นเมืองหลวงที่น่าเที่ยวมาก ทั้งอาหารที่อร่อย และการคมนาคมภายในเมืองที่ดี (หรือเปล่า) และสถานที่เที่ยวในกรุงเทพก็เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจขั้นเทพสมชื่อ ทำให้กรุงเทพมีเสน่ห์ในสายตาของชาวต่างชาติหลายคน

แต่สำหรับคนไทยอย่างเราแล้ว เรากลับมองว่ากรุงเทพมีจุดน่าหงุดหงิดอยู่ไม่น้อย บางทีอาจจะมองว่าเป็น human error ก็ใช่ 5555 มาดูกันครับว่า 5 เรื่องขัดใจในกรุงเทพมีอะไรบ้าง ไปเชิญชมกันเลย

ฟุตบาทไม่ใช่ที่ของคนเดินหรือคนขี่จักรยานเสมอไป




ถ้าเราได้เดินเล่นแถว ๆ ถนนสุขุมวิท เราจะพบกับคนที่เดินไปเดินมาเต็มไปหมด ถ้าตั้งแต่ย่านพระโขนง จะยังไม่เท่าไร แต่ถ้าเราไปแถว ๆ ระหว่างสามแยกทองหล่อจนถึง EmQuartier เราจะเจอคนขับมอเตอร์ไซค์บนฟุตบาทโดยไม่แคร์เลยว่าใครกำลังเดินอยู่ ถ้าเกิดเราใส่หูฟัง เราจะไม่ได้ยินอะไรเลยว่าใครขับรถอยู่ข้างหลัง และบางที เราได้ยินเสียง ปี๊นดังมาก เรารู้เลยว่า เฮ้ย!!! ใครขับรถฟระ!!!

เสียงที่ได้ยินมันดังและทำเอาเราตกใจมาก ๆ  หรือบางทีก็ขับผ่านไปตรง ๆ ตูม ๆ ทำเอาเรางงอยู่ซักพัก เค้าเล่นอะไรกันน้า…

ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย ไม่ใช่แค่เราคนเดียวเท่านั้นที่เจอ คนอื่นก็เป็นกันหมด และเป็นประเด็นที่หลาย ๆ คนเรียกร้องให้ทางเขตแก้ไขปัญหานี้กัน และสุดท้าย ทางเขตได้แก้ไขปัญหาขับรถมอเตอร์ไซค์บนฟุตบาทด้วยการตั้งเสากลางฟุตบาทเพื่อไม่ให้รถผ่านไปได้ เป็นการแก้ปัญหาที่โอเคอยู่พอสมควรครับ และตั้งแต่นั้นมา ปัญหาการขับมอเตอร์ไซค์ที่ฟุตบาทก็เบาบางลงทันที

ไปถึงชานชลาไม่ทัน อ้าว!!! รถไฟเคลื่อนที่แล้ว




เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของทางรถไฟฟ้าครับ เป็น Human Error ของเราเอง ทุก ๆ ครั้งเวลาเราไปกับเพื่อน ไปเที่ยวแถว ๆ สยาม ก็ต้องใช้รถไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือ เมื่อเรากำลังวิ่งไปที่ชานชลา ปรากฎว่ารถไฟฟ้าที่เรากำลังขึ้นอยู่ ๆ ก็ไปแบบไม่บอกกล่าวอะไรเลย

มันอาจจะไม่ใช่ปัญหา แต่เป็นเรื่องที่หงุดหงิดใจไม่น้อยครับ และเรื่องราวหงุดหงิดเพิ่มเติมสำหรับคนใช้รถไฟฟ้า BTS คือประตูเข้าระบบสีแดงที่มันหนีบ ๆ สไตล์เกม Rockman บางคนบอกว่า มันเหหมือนก้ามปูยังไงไม่รู้ ปัญหาของประตูนี้คือ ถ้าขนของเข้าไปในประตูนี้ ต้องยกขึ้นออกจากประตู ถ้าไม่ยกขึ้น จะโดนประตูหนีบและร้องจ๊ากด้วยความเจ็บปวดทันที และความเจ็บแสบของประตูนี้มันช่างร้อนรุ่มและปวดแสบปวดร้อนพอสมควร มันแทบจะเดินไม่ได้เลยก็มี

จากสถิติที่เราใช้ระบบรถไฟฟ้ามานาน ดูเหมือนว่าระบบรถไฟฟ้า BTS มันชอบหนีบอยู่เรื่อย บางทีเรายกของแล้วเราก็โดนหนีบ และการโดนหนีบของประตู BTS มันช่างกวนโอ๊ยมาก ไม่น่าเชื่อครับ ว่ามันจะเจ็บโคตร ๆ เช่นนี้

ต่อให้มีรถไฟฟ้าก็รถติดแหงกเหมือนเดิม




เชื่อหรือไม่ ช่วงปี 2554 ช่วงที่ส่วนต่อขยายจากบางจากไปแบริ่งเปิดให้ใช้บริการ สามารถแก้ปัญหารถติดได้พอสมควร แต่พอผ่านไป 2-3 ปี ปัญหารถติดแถวบางนามีให้เห็นเหมือนเดิม มันไม่สามารถแก้ให้หายได้ คงเพราะคนที่อาศัยแถว BTS มากขึ้น และคนก็มากขึ้นตามไปอีก มันเลยกลายเป็นว่า การมีรถไฟฟ้าก็ไม่ได้ช่วยให้รถหายติดแต่อย่างใดครับ

และถ้าเกิดรถไฟฟ้าเกิดอาการขัดข้องแล้วล่ะก็… วันนั้นจะเป็นวันนรกแตกทันทีครับ เพราะคนหลายคนจะแช่อยู่ที่ชานชลาและเคลื่อนไหวไปไหนไม่ได้เลย และถ้าเกิดเหตุในวันที่ทำงานตอนเช้าแล้วล่ะก็… เราจะมาสาย ซึ่งขอเล่าประสบการณ์เจอปัญหารถไฟฟ้าขัดข้องให้ฟังกันครับ

วันนั้นน่าจะประมาณเรียนอยูปี 4 ครับ และวันนั้นมีสอบตอนเช้าที่มหาวิทยาลัยด้วย เราไปถึงที่ BTS ตอนประมาณ 7 โมงครึ่ง และเราเห็นคนหลาย ๆ คนต่อแถวมากมายเพื่อจะไปขึ้นที่ BTS คนเยอะมาก ไปไหนไม่ถูก สุดท้าย BTS ก็มา และเราก็ไปสอบสายครับ วันนั้นเราไม่มีสิทธิ์สอบและต้องทำเรื่องขอสอบใหม่อีกรอบ เฮ้อ….

แต่ละคนต้องแย่งกันจองโต๊ะเพื่อกินข้าวเที่ยง


ถ้าใครได้ทำงานแถวอโศกจะเจอปัญหานี้กันครับ เป็นปัญหาปกติของคนที่ทำงานแถวนั้น เมื่อถึงตอนกลางวัน เราจะไปกินข้าวกันที่ Food Court ที่ Terminal 21 จุดเด่นของ Food Court ที่นี่คือ ราคาอาหารจะอยู่ราคาที่คนทั่วไปสามารถกินได้ เพราะในย่านอโศก ของกินแต่ละอย่างจะแพงมาก ๆ ครับ อย่างข้าวราดแกง 2 อย่าง ถ้าเป็นร้านอื่น ขายราคา 45 บาทครับ หรือพวกอาหารที่ตึก Interchange ชั้นล่าง ราคาแรงเอาเรื่อง ประมาณ 40-60 บาททั้งนั้น ค่าอาหารแพงขนาดนี้ พอลองมาดูที่ Terminal 21 ตรง Food Court ราคาไม่ได้แพงอย่างที่คิดครับ มีตั้งแต่ 25 บาท ถึง 85 บาทเลยทีเดียว

แล้วเมื่อราคามันน่าคบหาแบบนี้ ทางเราไม่รอช้าครับ จัดการจองโต๊ะอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่ทำงานย่านอโศก บางที เราต้องยืนกินเลยครับ มันเยอะจริง ๆ

แท็กซี่จอดในที่จอดของรถเมล์




แวบแรกที่เห็น เราต้องร้องและบอกว่า “มันไม่ใช่!!!” เดี๋ยว ๆ มันไม่ใช่แบบนั้นนะ ความรู้สึกแบบนี้มันเด้งมาในหัวสมองทันทีเมื่อเราเดินลงมาจากสถานีรถไฟฟ้า BTS อุดมสุขเพื่อเตรียมตัวกลับบ้าน คือเราลงมาที่ป้ายรถเมล์เพื่อมาต่อรถเพื่อกลับบ้าน แต่ดูเหมือนรถแท็กซี่ล้ำเส้นรถเมล์ซะแล้ว เพราะเล่นจอดรอผู้โดยสารตรงเลนรถเลย โอ้โห!!! เดี๋ยว ๆ เลนรถนี้มันเป็นของรถเมล์ไม่ใช่เหรอ คือเข้ามาแย่งจอดแบบนี้ เห็นแล้วไม่โอเคอย่างแรงครับ 5555

ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้จริง ๆ มีมานานมากแล้วครับ ตอนช่วงที่เรากลับมาจากทองหล่อช่วงกลางคืนและเราออกจาก BTS อุดมสุข พอเห็นรถที่เข้ามาที่ BTS โอ้โห!!! คนเยอะมาก ๆ ไม่รู้มันไปทำอีท่าไหน 55555 รถแท็กซี่จอดรอผู้โดยสารทั้งนั้น

ซึ่งปัญหาของรถแท็กซี่ที่จอดรอผู้โดยสารแบบนี้ ทำให้รถเมล์ที่กำลังเข้ามาจอดจะต้องจอดตรงกลางถนน แล้วรถคันอื่น ๆ ที่วิ่งตามหลังรถเมล์ต้องเบี่ยงไปที่อื่นครับ แบบนี้แล้ว โอ้โห!!! อันนี้ไม่โอเคครับ มันจะเป็นอันตรายกับผู้โดยสารที่ลงมา

จบลงแล้วครับกับ 5 เรื่องขัดใจในกรุงเทพ มีเรื่องไหนที่ท่านผู้ชมรู้สึกขัดใจในกรุงเทพ สามารถ Comment ได้ที่กล่องคอมเมนท์ข้างล่างเลยครับ ใครที่ยังไม่ได้ Subscribe ช่อง YouTube ของเราก็อย่าลืมด้วยนะ สำหรับคลิปนี้ ลาไปก่อน โชคดีครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นักเลงคีย์บอร์ด คืออะไร

นักเลงคีย์บอร์ด ไม่ใช่ชื่อเพลงของสแตมป์ที่ร่วมเล่นเพลงกับ YMCK ศิลปินเพลงแนว Chiptune จากแดนปุ่น ๆ แต่มันคือนักเลงที่เราไม่สามารถจินตนาการรูปร่างของมันที่แท้จริงเลยว่ามันเป็นอย่างไร บางคนบอกว่า อาจจะเป็นนักเลงจริง ๆ แต่ชอบขี้แพ้ บางคนเป็นเด็กเนิร์ด เรียนเก่ง นิสัยดี บางคนอาจจะไม่ใช่คนจริง ๆ มันเป็นบอทที่คอยปล่อยคำพูดโง่ ๆ ให้คนอื่นได้ยิน หรือบางคนอาจจะเป็นคนใกล้ตัว และแกล้งทำเป็นนักเลงในโลกออนไลน์และคอยหาเรื่องคนนู้นคนนี้ไปเรื่อย อย่าลืมว่า โลกออนไลน์กับโลกแห่งความเป็นจริงต่างเดินทางแบบคู่ขนาด เรื่องบางเรื่องเกิดในโลกออนไลน์ แต่อาจส่งผลกับโลกแห่งความจริง นักเลงคีย์บอร์ดก็เหมือนกัน คนที่โดนนักเลงคีย์บอร์ดบางคนเค้าเห็นว่าเป็นเด็ก ก็เลยว่ากล่าวตักเตือน แต่ถ้ายังทำอีกรอบ นั่นอาจต้องโดนอะไรมากกว่านั้นแน่นอน

พูดถึงเกม K.I.A. Online

รู้หรือไม่ ย้อนไปเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว มีเกมของคนไทยเกมหนึ่งค่อนข้างพูดถึงกันเยอะ เพราะเป็นเกมที่ใช้ Unreal Engine 3 ในการพัฒนา ร้านเกมหลาย ๆ เกมรับแผ่นเกม ๆ นี้และเอาไปลงเครื่องกันเยอะแยะ โดยเกมนี้เคยเป็นกระแสอยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นเกมที่ภาพสวยใช้ได้ แต่พอมาเปิด Open Beta จริง ๆ เหมือนกราฟิคดรอปลง และเกม ๆ นี้คือ KIA Online ครับ มาดูกันครับว่า เราจะพูดถึงเกม ๆ นี้ว่าอะไรบ้าง เป็นเกมคนไทยสร้างที่เป็น Talk Of The Town ในยุคนั้นมากที่สุด ก็นะ… คือเอาจริง ๆ ยุคนั้นเกมคนไทยก็มีมาบ่างแล้ว แต่คุณภาพเกมแต่ละเกมที่วางจำหน่ายก่อนหน้านั้นยังไม่ถึงขั้นมาตรฐาน ทั้ง AI ที่เห่ย หรือเนื้อเรื่องที่ดูแล้วไม่น่าติดตาม ไม่น่าเล่น แต่ในช่วงเวลานั้นที่คนไทยผลิตแล้วประสบความสำเร็จมักจะเป็นเกม 2 มิติ แต่สำหรับเกม KIA เป็นเกมของคนไทยที่ผลิตออกมาด้วยการเขียนเกมใน Game Engine ที่ชื่อ Unreal Engine เวอร์ชั่น 3 ซึ่งตัว Engine ตัวนี้เป็นที่นิยมมากสำหรับผู้ผลิตเกมในยุคนั้นเพราะเป็น Engine ที่ผลิตเกมได้ดีเลยทีเดียว ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า บางบริษัทพัฒนาเกม เค้าไม่มีทีมงานเขียนโปรแกรมที่สามารถสร้างเก

ทำไมคนไทยไม่ชอบสร้างเกมเอง

มีญาติผู้ใหญ่ในวงการเกมเคยถามพวก ๆ เราว่า “ทำไมเมืองไทยไม่สร้างเกมเองล่ะ” เผลอ ๆ จะได้เงินเข้าในประเทศบ้างอะไรบ้าง คำถามนี้เป็นคำถามที่หลาย ๆ คนสงสัย ตัวเราเองก็สงสัยเหมือนกันตอนเด็ก ๆ คือทำไมเกมต่าง ๆ คนที่ผลิต มันมีแค่ 2 ประเทศอย่างญี่ปุ่นหรืออเมริกาเหรอ ทำไมคนไทยไม่ผลิตเองบ้าง เผื่อได้เงินเยอะ ๆ ความคิดแบบนี้มันก็ผุดขึ้นในหัวอีกรอบครับ เมื่อเราเห็นอุตสาหกรรมเกมมันดีขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ และเราก็เข้างาน TGS BIG FEST เราก็เห็นแต่พวกเกมของต่างประเทศเปิดตัว แต่เอาจริง ๆ งาน TGS BIG FEST มันเป็นงานแนว ๆ แข่งเกมมากกว่า ถ้าจะหวังงานแบบ E3 ในประเทศไทยก็คงยาก คงเพราะไม่ยอมจัดที่ ๆ ใหญ่ ๆ อย่างพวก BITEC Bangna เรื่องความใหญ่ไม่ใหญ่ เราขอไม่พูดถึงครับ เพราะคลิปนี้ เราจะพูดถึงว่าทำไมคนไทยไม่ชอบสร้างเกมเอง ไปเชิญชมกันเลยครับ เงินทุนไม่มากพอ จะบอกว่าเงินทุนคือเหตุผลหลักที่ทำให้เกมไทยไม่เกิด ไม่ได้ดังเหมือนเกมอื่น ๆ บนโลกนี้คงต้องยอมรับจริง ๆ ครับ เงินคือทุกอย่างในการสร้างเกม ต้นทุนการสร้างเกมนั้นมันจะมี 2 อย่างครับ คือ การลงทุนฝ่ายพัฒนา และการลงทุนฝ่ายการโฆษณา และสองอย่า